เงาะอร่อย (เงาะพันธุ์โรงเรียน)
เป็นผลไม้ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของจังหวัดสุราษฎร์ธานี และของประเทศ เป็นเงาะที่มีรสชาติหวานและกรอบ ปลูกกันมากในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ผลมีลักษณะโต เปลือกบาง แม้สุกจัดปลายเส้นขนยังมีสีเขียว ลักษณะต้นเป็นพุ่มไม่สูงเงาะโรงเรียนมีประวัติเล่าว่า เมื่อปี พ.ศ. 2468 มีชาวจีนสัญชาติมาเลเซีย ชื่อนายเค วอง มีภูมิลำเนาอยู่ที่เมืองปินังประเทศมาเลเซีย ได้เดินทางเข้ามาทำเหมืองแร่ดีบุก ที่หมู่บ้านเหมืองแกะ ตำบลนาสาร อำเภอบ้านนาสาร โดยสร้างบ้านพักเป็นเรือนไม้ 2 ชั้น ในที่ดินที่ซื้อจำนวน 18 ไร่ ใกล้ทางรถไฟด้านทิศตะวันตก ได้นำเมล็ดเงาะมาปลูกข้างบ้านพัก ปรากฏว่ามีเงาะต้นหนึ่งมีผลที่มีลักษณะต่างไปจากต้นอื่น คือ รูปผลค่อนข้างกลมเนื้อกรอบ หวาน หอม เปลือกบางรสชาติอร่อย
เป็นผลไม้ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของจังหวัดสุราษฎร์ธานี และของประเทศ เป็นเงาะที่มีรสชาติหวานและกรอบ ปลูกกันมากในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ผลมีลักษณะโต เปลือกบาง แม้สุกจัดปลายเส้นขนยังมีสีเขียว ลักษณะต้นเป็นพุ่มไม่สูงเงาะโรงเรียนมีประวัติเล่าว่า เมื่อปี พ.ศ. 2468 มีชาวจีนสัญชาติมาเลเซีย ชื่อนายเค วอง มีภูมิลำเนาอยู่ที่เมืองปินังประเทศมาเลเซีย ได้เดินทางเข้ามาทำเหมืองแร่ดีบุก ที่หมู่บ้านเหมืองแกะ ตำบลนาสาร อำเภอบ้านนาสาร โดยสร้างบ้านพักเป็นเรือนไม้ 2 ชั้น ในที่ดินที่ซื้อจำนวน 18 ไร่ ใกล้ทางรถไฟด้านทิศตะวันตก ได้นำเมล็ดเงาะมาปลูกข้างบ้านพัก ปรากฏว่ามีเงาะต้นหนึ่งมีผลที่มีลักษณะต่างไปจากต้นอื่น คือ รูปผลค่อนข้างกลมเนื้อกรอบ หวาน หอม เปลือกบางรสชาติอร่อย
หอยใหญ่ (หอยนางรม)
หอยนางรมสุราษฎร์ธานีเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในหมู่นักบริโภคว่า เป็นอาหารทะเลที่รสชาติขึ้นชื่อ คุณสมบัติที่สร้างคุณค่าหอยนางรมคือ เนื้อในขาวสะอาด รสออกหวาน ไม่มีกลิ่นคาว มีคุณค่าทางอาหารสูงหอยนางรมเริ่มเพาะเลี้ยงประมาณปี 2504 ทดลองเลี้ยงที่แหลมซุย อำเภอไชยา ต่อมาได้เพาะเลี้ยงที่บริเวณปากคลองท่าทอง และปากคลองกะแดะ อำเภอกาญจนดิษฐ์ หอยนางรมมี 2 ชนิดคือ ชนิดพันธุ์เล็ก เรียกว่าหอยเจาะ ชนิดพันธุ์ใหญ่ เรียกว่าหอยตะโกรม
หอยขาวพุมเรียง
หอยขาวพุมเรียง เป็นอาหารทะเลที่มีชื่อเสียงของอำเภอไชยา สามารถหาบริโภคได้เฉพาะที่พุมเรียงเท่านั้น หอยนางรม หอยนางรมสุราษฎร์ธานีเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในหมู่นักบริโภคว่า สด ตัวใหญ่ รสหวาน เนื้อในขาว มีคุณค่าทางอาหารสูง หอยนางรมเริ่มเพาะเลี้ยงประมาณปี ๒๕๐๔ ทดลองเลี้ยงที่แหลมซุย อำเภอไชยา ต่อมาได้เพาะเลี้ยงที่บริเวณปากคลองท่าทอง และปากคลองกะแดะ อำเภอกาญจนดิษฐ์ หอยนางรมมี ๒ ชนิดคือ ชนิดพันธุ์เล็ก เรียกว่าหอยเจาะ ชนิดพันธุ์ใหญ่ เรียกว่าหอยตะโกรม ลักษณะเป็นหอย ๒ ฝา พบทั่วไปบริเวณน้ำตื้นชายฝั่ง หอยนางรมจะออกวางไข่ตลอดปี แต่จะมีมากในเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายน หอยนางรมจะวางไข่ครั้งหนึ่งประมาณ ๑-๙ ล้านฟอง
หอยขาวพุมเรียง เป็นอาหารทะเลที่มีชื่อเสียงของอำเภอไชยา สามารถหาบริโภคได้เฉพาะที่พุมเรียงเท่านั้น หอยนางรม หอยนางรมสุราษฎร์ธานีเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในหมู่นักบริโภคว่า สด ตัวใหญ่ รสหวาน เนื้อในขาว มีคุณค่าทางอาหารสูง หอยนางรมเริ่มเพาะเลี้ยงประมาณปี ๒๕๐๔ ทดลองเลี้ยงที่แหลมซุย อำเภอไชยา ต่อมาได้เพาะเลี้ยงที่บริเวณปากคลองท่าทอง และปากคลองกะแดะ อำเภอกาญจนดิษฐ์ หอยนางรมมี ๒ ชนิดคือ ชนิดพันธุ์เล็ก เรียกว่าหอยเจาะ ชนิดพันธุ์ใหญ่ เรียกว่าหอยตะโกรม ลักษณะเป็นหอย ๒ ฝา พบทั่วไปบริเวณน้ำตื้นชายฝั่ง หอยนางรมจะออกวางไข่ตลอดปี แต่จะมีมากในเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายน หอยนางรมจะวางไข่ครั้งหนึ่งประมาณ ๑-๙ ล้านฟอง
ไข่เค็มไชยา
ไข่เค็มไชยาเป็นการถนอมอาหารชนิดหนึ่งเพื่อเก็บไว้กินนาน ๆ ที่ชาวไชยารู้จักทำมาตั้งแต่โบราณเนื่องจากในท้องที่อำเภอไชยา เป็นพื้นที่ที่มีการทำนามากที่สุดในจังหวัดสุราษฎร์ธานี การเลี้ยงเป็ดของชาวไชยามีเกือบทุกบ้านของผู้ที่มีอาชีพทำนา ซึ่งจะเลี้ยงบ้านละ 10 -20 ตัว การเลี้ยงเป็ดส่วนใหญ่จะเลี้ยงแบบปล่อยทุ่ง เป็ดจะหาอาหารธรรมชาติในทุ่งนาซึ่งมีจำพวก ปู ปลา หอย สมบูรณ์ และจะเสริมอาหารด้วยข้าวเปลือก จึงทำให้คุณภาพของไข่เป็ดแดงไม่มีกลิ่นคาว วิธีการทำ ไข่เค็มไชยาค่อนข้างจะมีลักษณะพิเศษกว่าที่อื่นตรงที่มีการหุ้มด้วยดินและเคลือบด้วยขี้เถ้าแกลบ ซึ่งไข่เค็มที่อื่นมักจะใช้วิธีดองด้วยน้ำเกลือ
ไข่เค็มไชยาเป็นการถนอมอาหารชนิดหนึ่งเพื่อเก็บไว้กินนาน ๆ ที่ชาวไชยารู้จักทำมาตั้งแต่โบราณเนื่องจากในท้องที่อำเภอไชยา เป็นพื้นที่ที่มีการทำนามากที่สุดในจังหวัดสุราษฎร์ธานี การเลี้ยงเป็ดของชาวไชยามีเกือบทุกบ้านของผู้ที่มีอาชีพทำนา ซึ่งจะเลี้ยงบ้านละ 10 -20 ตัว การเลี้ยงเป็ดส่วนใหญ่จะเลี้ยงแบบปล่อยทุ่ง เป็ดจะหาอาหารธรรมชาติในทุ่งนาซึ่งมีจำพวก ปู ปลา หอย สมบูรณ์ และจะเสริมอาหารด้วยข้าวเปลือก จึงทำให้คุณภาพของไข่เป็ดแดงไม่มีกลิ่นคาว วิธีการทำ ไข่เค็มไชยาค่อนข้างจะมีลักษณะพิเศษกว่าที่อื่นตรงที่มีการหุ้มด้วยดินและเคลือบด้วยขี้เถ้าแกลบ ซึ่งไข่เค็มที่อื่นมักจะใช้วิธีดองด้วยน้ำเกลือ
ผ้าไหมพุมเรียง
เป็นงานหัตถกรรมที่ทำกันในหมู่บ้านไทยมุสลิม เข้าใจว่าแต่เดิมคงเป็นพวกแขกที่อพยพ หรือถูกกวาดต้อนมาจากไทรบุรีพร้อม ๆ กับช่างทอผ้าที่เมืองนครศรีธรรมราช
เป็นงานหัตถกรรมที่ทำกันในหมู่บ้านไทยมุสลิม เข้าใจว่าแต่เดิมคงเป็นพวกแขกที่อพยพ หรือถูกกวาดต้อนมาจากไทรบุรีพร้อม ๆ กับช่างทอผ้าที่เมืองนครศรีธรรมราช
ผลิตภัณฑ์จากใบยางพารา
ที่อำเภอบ้านนาสาร ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ผีเสื้อ ดอกไม้ เป็นต้น มีจำหน่ายที่กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอำเภอบ้านนาสาร สำนักงานเกษตรอำเภอบ้านนาสาร โทร. 0 7734 1110
ที่อำเภอบ้านนาสาร ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ผีเสื้อ ดอกไม้ เป็นต้น มีจำหน่ายที่กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอำเภอบ้านนาสาร สำนักงานเกษตรอำเภอบ้านนาสาร โทร. 0 7734 1110

ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น